เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 2. ทิฏฐิกถา 1. อัสสาททิฏฐินิทเทส
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยรูป ฯลฯ อาศัยสัททะ ฯลฯ
อาศัยคันธะ ฯลฯ อาศัยรส ฯลฯ อาศัยโผฏฐัพพะ ฯลฯ อาศัยธรรมารมณ์ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
โสตวิญญาณ ฯลฯ อาศัยฆานวิญญาณ ฯลฯ อาศัยชิวหาวิญญาณ ฯลฯ อาศัย
กายวิญญาณ ฯลฯ อาศัยมโนวิญญาณ ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยจักขุสัมผัส ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัส ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัส ฯลฯ อาศัยชิวหาสัมผัส ฯลฯ อาศัย
กายสัมผัส ฯลฯ อาศัยมโนสัมผัส ฯลฯ อาศัยจักขุสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัย
โสตสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยฆานสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยชิวหา-
สัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ อาศัยกายสัมผัสสชาเวทนา ฯลฯ
ทิฏฐิคือความยึดมั่นถือมั่นว่า “สุข โสมนัสที่อาศัยมโนสัมผัสสชาเวทนา
เกิดขึ้น นี้เป็นอัสสาทะแห่งมโนสัมผัสสชาเวทนา” ทิฏฐิไม่ใช่อัสสาทะ อัสสาทะก็
ไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง อัสสาทะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและอัสสาทะนี้ ท่าน
กล่าวว่า อัสสาททิฏฐิ
อัสสาททิฏฐิ เป็นมิจฉาทิฏฐิ เป็นทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐิวิบัตินั้น
เป็นผู้มีทิฏฐิวิบัติ บุคคลผู้มีทิฏฐิวิบัติไม่ควรเสพ ไม่ควรคบ ไม่ควรนั่งใกล้ ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว ทิฏฐิใด ราคะใด ราคะนั้นไม่ใช่ทิฏฐิ ทิฏฐินั้น
ก็ไม่ใช่ราคะ ทิฏฐิเป็นอย่างหนึ่ง ราคะก็เป็นอย่างหนึ่ง ทิฏฐิและราคะนี้เรียกว่า
ทิฏฐิราคะ บุคคลผู้ประกอบด้วยทิฏฐินั้นและราคะนั้น เป็นผู้ยินดีในทิฏฐิราคะ
ทานที่ให้แก่บุคคลผู้ยินดีทิฏฐิราคะ เป็นทานมีผลไม่มาก มีอานิสงส์ไม่มาก ข้อนั้น
เพราะเหตุไร เพราะบุคคลนั้นมีทิฏฐิชั่ว อัสสาททิฏฐิเป็นมิจฉาทิฏฐิ
บุคคลผู้เป็นมิจฉาทิฏฐิ มีคติเป็น 2 คือ นรกหรือกำเนิดสัตว์ดิรัจฉาน
อนึ่ง กายกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ วจีกรรม ฯลฯ และ
มโนกรรมที่ถือปฏิบัติให้บริบูรณ์ตามสมควรแก่ทิฏฐิ เจตนา ความปรารถนา


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :198 }